• เปิดทำการวันเวลาราชการ 08:00 - 16:00 น.

          องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลปงเตา ได้รับการยกฐานะตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2539 เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา ตั้งอยู่เลขที่  62 หมู่ที่ 8 ตำบลปงเตา อำเภองาว จังหวัดลำปาง 52110 
 

ตราสัญลักษณ์

อำนาจหน้าที่
อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562)
1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
1) จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
2) การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็น และสมควร (ความเดิมในมาตรา 68 (8) ถูกยกเลิกและใช้ข้อความใหม่แทนแล้ว โดยมาตรา 14 และเพิ่มเติม (9) โดยมาตรา 15 ของ พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 ตามลำดับ)
3.    มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
2) ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
12) การท่องเที่ยว
13) การผังเมือง


          อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ในส่วนของการบริหารงานนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนต่าง ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตั้งขึ้น โดยมีพนักงานส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตได้ตามความจำเป็น และในกรณีที่เป็นข้าราชการซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดก่อนแต่งตั้ง นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน
 

ข้อมูลพื้นฐาน
ลักษณะภูมิศาสตร์

          ลักษณะที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน สภาพทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาล้อมรอบ และบางส่วนเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำงาว ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินถนนพหลโยธิน 666 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดลำปาง ประมาร 95 กิโลเมตร และห่างจากอำเภองาว ประมาณ 9 กิโลเมตร  อยู่ในท้องที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง หมู่บ้าน มีพื้นที่รวมประมาณ 181.71 ตารางกิโลเมตร ครอบคุลม 13 หมู่บ้าน

อาณาเขตและที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
ทิศใต้     ติดกับตำบลนาแก และ ตำบลบ้านแหง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก  ติดกับตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้  จังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก  ติดกับตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

เส้นทางการคมนาคม
          ทางรถยนต์  มีเส้นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัดลำปาง กับจังหวัดพะเยา,เชียงราย และเชื่อมระหว่างอำเภอ ตำบล หมู่บ้านต่างๆได้อย่างทั่วถึง ประชาชนสามารถเดินทางไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล

ลักษณะสังคมและชุมชน
ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบ และมีภูเขาล้อมรอบ ส่วนใหญ่ประชากรอยู่กระจายทั่วไปในพื้นที่ตำบลปงเตา แยกออกเป็นดังนี้
บริเวณพื้นที่ราบ แม่น้ำงาว  บริเวณนี้ประชาชนมีความหนาแน่น เนื่องจากการคมนาคมสะดวก และมีแหล่งน้ำ ใช้ในการอุปโภคและบริโภค เหมาะกับการทำการเกษตร
บริเวณพื้นที่สูง บริเวณนี้ประชาชนส่วนใหญ่เป็น ชนเผ่าเมี้ยน  ชนเผ่าอาข่า และ ชนเผ่าไทลื้อ ที่มีภาษาและวัฒนธรรม เป็นของตัวเอง ซึ่งเผ่าเมี้ยนอพยพมาจากอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย บางส่วนอพยพมากจากจังหวัดน่าน  มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมตลอดจนถึงภาษาของตนเองไว้ 

แบ่งเขตการปกครอง

หมู่

บ้าน

ครัวเรือน (หลัง)

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

1

บ้านปงเตา

218

307

323

630

2

บ้านห้วยอูน

336

357

381

738

3

บ้านพร้าว

154

177

184

361

4

บ้านปันเหนือ

256

303

290

593

5

บ้านปันใต้

313

405

423

828

6

บ้านบ่อสี่เหลี่ยม

251

237

267

504

7

บ้านขุนแหง

187

295

264

559

8

บ้านหัวทุ่ง

166

233

240

473

9

บ้านปันพัฒนา

225

268

277

545

10

บ้านห้วยน้ำตื้น

94

143

146

289

11

บ้านสามเหลี่ยม

113

271

266

537

12

บ้านปงเตา

158

244

244

488

13

บ้านพร้าวใหม่พัฒนา

199

292

300

592

ที่มา สำนักทะเบียนอำเภองาว ณ เดือน ธันวาคม  2564


ไฟฟ้า
          ได้รับการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าอำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนในอำเภองาว กระจายทั่วไปตามตำบลหมู่บ้านต่างๆ ปัจจุบันมีหมู่บ้านที่ได้รับริการกระแสไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน

ประปา
          ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา มีบ่อน้ำประปา จำนวน 5 บ่อ และประปาภูเขา จำนวน 4 บ่อ ซึ่งการจัดการระบบประปา เป็นการจัดการระบบประปาของหมู่บ้านเอง และบางครัวเรือนใช้น้ำบาดาล โดยการขุดเจาะภายในบ้าน เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค

สภาพเศรษฐกิจท้องถิ่น
          จากสภาพที่ตั้งของ องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม และภูเขา  ประชากรร้อยละ 70 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม มีการปลูกข้าว ปลูกข้าวไร่ ปลูกไม้ยืนต้น ในช่วงฤดูแล้ง ปลูกข้าวโพด กระเทียม ถั่วเหลือ ยาสูบ มีการเลี้ยงสัตว์ สำหรับประชากรส่วนที่เหลือ ประกอบอาชีพ รับราชการ ค้าขาย พนักงานบริษัท รับจ้างทั่วไป  

ด้านการศึกษา
ตำบลปงเตามีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จำนวน 5 แห่ง และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 6 แห่ง ดังนี้
1) โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย
1. โรงเรียนบ้านห้วยอูน หมู่ที่ 2 (เรียนรวมโรงเรียน บ้านปงเตา,บ้านปันเหนือ,บ้านขุนแหง)
2. โรงเรียนบ่อสี่เหลี่ยมวิทยา หมู่ที่ 6
2) โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส ถึง ม.3) จำนวน 1 แห่ง คือ
1. โรงเรียนบ่อสี่เหลี่ยมวิทยา หมู่ที่ 6
3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง คือ
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลปงเตา ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 (เรียนรวมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปงเตา,บ้านห้วยอูน,บ้านปันเหนือ)
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่หมู่ที่ 6
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยน้ำตื้น ตั้งอยู่หมู่ที่ 10
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยน้ำตื้น ตั้งอยู่หมู่ที่ 11

การสาธารณสุข
องค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา มี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว  ที่ให้การรักษาพาบาลและดูแลสุขภาพเบื้องต้นของประชาชนพื้นที่ตำบลปงเตา

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรป่าไม้ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนและเขตป่าอนุรักษ์ต้นน้ำโซนเอ เป็นป่าไม้เบญจพรรณที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ไผ่ และไม้อื่น ๆ โดยชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ โดยกำหนดเขตพื้นที่ป่าชุมชน ได้แก่ ป่าห้วยแม่หิน
แหล่งน้ำ
พื้นที่ตำบลปงเตามีหนอง บึง จำนวน  7  แห่ง  คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน  23  แห่ง ถือเป็นแหล่งน้ำหลักในการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ตำบลปงเตา

ศาสนา
          ประชาชนตำบลปงเตามีความแตกต่างกันในเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ดังนั้น การนับถือศาสนา และธรรมเนียมปฏิบัติจึงแตกต่างกัน ชาวไทยพื้นเมืองส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ชนเผ่านับถือศาสนาคริสต์และผี  โดยมีข้อมูลทาง ศาสนสถาน ดังนี้
วัด
1.    วัดบ้านปงเตา  
2.    วัดบ้านห้วยอูน
3.    วัดบ้านพร้าว
4.    วัดบ้านปันเหนือ
5.    วัดบ้านปันใต้
สำนักสงฆ์  ได้แก่ สำนักสงฆ์ วัดพร้าวใหม่
สำนักวิมุติธรรม      ได้แก่ สำนักวิมุติธรรมมาราม บ้านปงเตา 

วัฒนธรรมประเพณี
          ประชาชนในพื้นตำบลปงเตามีความแตกต่างกันในเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ดังนั้นประเพณีและวัฒนธรรมจึงมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้
ชาวไทยพื้นเมือง มีประเพณีและขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมายาวนาน เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ในวันสงกรานต์ ประเพณีก่อเจดีย์ทรายในวันสงกรานต์ ทำบุญตานก๋วยสลาก ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีแต่งงาน ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประเพณีถวายเทียนพรรษา ประเพณีตานข้าวใหม่ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีการบวช ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เลี้ยงผีปู่ผีย่า เป็นต้น
ชนเผ่าเมี้ยน จะมีธรรมเนียมประเพณีคล้ายกับชาวจีน เนื่องจากมีเชื้อชาติและบรรพบุรุษเดียวกับกับคนจีน จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายกัน ประเพณีตรุษจีน ประเพณีแต่งงาน การเลี้ยงผีเมื่อมีการเพาะปลูกและเมื่อป่วยไข้ เป็นต้น
ชนเป่าอาข่า ประเพณีแต่งงาน เลี้ยงผี ประเพณีโล้ชิงช้า 


วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนา
 
” เศรษฐกิจพอเพียง บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูวัฒนธรรม “

ภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลปงเตา
1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนให้ได้มาตรฐาน
2) พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
3) พัฒนาท้องถิ่นให้เป็นเมืองน่าอยู่
4) ส่งเสริมอาชีพ ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้
5) พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี สู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1) โครงสร้างพื้นฐานได้มาตรฐานครอบคลุมทุกพื้นที่
2) ประชาชนร่วมอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
3) ท้องถิ่นเป็นเมืองน่าอยู่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4) ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น
5) การบริหารจัดการโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมและได้รับบริการอย่างเป็นธรรม

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ 20 แนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

แนวทางที่ 1 การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน
แนวทางที่ 2 การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ระบบประปา
แนวทางที่ 3 การขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ
แนวทางที่ 4 การวางผังเมือง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ 1 การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ 2 การบำบัดพื้นฟู การเฝ้าระวัง และการป้องกันรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสังคม
แนวทางที่ 1 การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
แนวทางที่ 2 การจัดการศึกษา
แนวทางที่ 3 การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางที่ 4 การป้องกันรักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
แนวทางที่ 5 การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเศรษฐกิจ
แนวทางที่ 1 การส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชน
แนวทางที่ 2 การส่งเสริมการตลาดและการใช้สินค้าท้องถิ่น
แนวทางที่ 3 การส่งเสริมการท่องเที่ยว
แนวทางที่ 4 การก่อสร้างแหล่งเก็บน้ำ
แนวทางที่ 5 การปรับปรุงดูแลรักษาแหล่งน้ำ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาการเมือง – การบริหาร
แนวทางที่ 1 การพัฒนาบุคลากร
แนวทางที่ 2 การปรับปรุง การพัฒนาเครื่องมือ-เครื่องใช้ และสถานที่ปฏิบัติงาน
แนวทางที่ 3 การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในกิจการท้องถิ่น
แนวทางที่ 4 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน